ป้องกันปัญหาเมื่อรั้วบ้านทรุดเอียง

รั้วบ้านเป็นส่วนที่แสดงอาณาเขตของบ้าน (สำหรับบ้านเดี่ยวหรือว่าทาวน์เฮ้าส์)เป็นรั้วที่กั้นความเป็นส่วนตัวระหว่างเจ้าของบ้านกับพื้นที่ของบ้านอื่นหรือพื้นที่ที่เป็นสาธารณะ รั้วบ้านช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยแก่ผู้อยู่อาศัย แน่นอนว่ารั้วบ้านต้องมีความมั่นคงแข็งแรงไม่แพ้ตัวบ้านเหมือนกัน รั้วบ้านที่ดีต้องตั้งตรง ในบ้านที่มีรั้วติดกันหรือว่าใช้รั้วร่วมกัน หากว่ารั้วบ้านเอียงจะทำให้ไปรุกล้ำพื้นที่ของบ้านอื่นด้วย ดังนั้นปัญหาเรื่องรั้วบ้านเอียงเป็นเรื่องที่เจ้าของบ้านต้องรีบซ่อมแซมโดยด่วนเพราะว่ามันมีผลกระทบต่อเพื่อนบ้าน และเป็นอันตรายต่อทั้งร่างกายและทรัพย์สิน

ส่วนประกอบของรั้วบ้านมีรายละเอียดดังนี้

  • โครงสร้างส่วนเหนือดินเป็นส่วนที่เรามองเห็น เช่น คานทับหลัง เสารั้ว กำแพงรั้ว และคานคอดิน
  • โครงสร้างใต้ดินประกอบด้วยฐานรากหรือฐานเข็ม และยังแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ฐานรากทั่วไป และฐานรากกันดิน

ฐานรากทั่วไป เป็นฐานรากที่มีตามแนวของเสารั้ว ประกอบด้วยเสาตอม่อ ฐานราก และอาจมีเสาเข็มในกรณีที่สภาพดินอ่อน โดยตัวฐานรากหากสร้างชิดเขตที่ดินจะต้องใช้ฐานรากที่เรียกว่าฐานรากตีนเป็ด เพื่อไม่ให้ฐานรุกล้ำไปยังเขตที่ดินเพื่อนบ้าน ยกเว้นกรณีที่ใช้รั้วร่วมกันอย่างเช่นบ้านในหมู่บ้านจัดสรรโดยทั่วไป ซึ่งกึ่งกลางของฐานรากและแนวรั้วจะถือเป็นแนวเขตที่ดิน ฐานรากทั่วไปนี้จะใช้ในบริเวณที่ระดับดินทั้งสองฝั่งของรั้วสูงเท่าๆ กัน

ฐานรากกันดิน เป็นฐานรากที่ใช้ในบริเวณที่ระดับดินทั้งสองฝั่งของรั้วมีความแตกต่างกัน ดินจากฝั่งที่สูงกว่าจะมีแรงดันไปยังฝั่งที่ต่ำกว่า ลักษณะของฐานรากจะทำได้ 2 รูปแบบ แบบแรกคือฐานรากตัว L คอนกรีตเสริมเหล็กหล่อยาวตลอดแนวรั้ว โดยขาของตัว L จะอยู่ฝั่งที่ดินสูงกว่า เหมาะกับดินที่ถมสูงจนมีน้ำหนักเพียงพอที่จะกดทับฐานรากไว้ไม่ให้ล้มเอียง อีกแบบคือฐานรากสเตย์ ซึ่งเป็นฐานรากพร้อมเสาเข็มอีกชุด มีคานค้ำยันทำหน้าที่ดึงชุดโครงสร้างรั้วและกำแพงกันดินไว้ ทั้งนี้ ฐานรากกันดินจะมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงกว่าฐานรากทั่วไป

การที่รั้วทรุดเอียงเนื่องมาจากการถมดินที่ต่างกันระหว่างที่ดินทั้งสองฝั่ง และไม่ได้เตรียมการป้องกันไว้ หรือว่ามีการใช้ฐานรากที่ผิดประเภท หากที่ดินของบ้านถมที่ดินสูงกว่าที่ดินของอีกฝั่งหนึ่ง (ถามดินต่างระดับกันมากเช่นห่างกันเป็นเมตร) เมื่อปล่อยไปเรื่อยๆ ดินจะดันฐานรากและรั้วให้ล้มลง

หากว่าเราเห็นรอยแยกระหว่างรั้วทั้งสองแนวที่ตั้งฉากกัน แสดงว่ารั้วด้านใดด้านหนึ่งเริ่มเอียง ให้ตัดโครงสร้างของรอยต่อของรั้วออกจากกันเพื่อไม่ให้มันดึงรั้วให้เอียงไปมากกว่านี้ หากว่ารั้วเอียงยังไม่มากให้ถมดินฝั่งที่รั้วเอียงไปทางด้านนั้น (ถมดินให้สูงเท่าๆกัน) หรือหากว่าท่านไม่ถมดิน ท่านอาจจะปรับระดับดินให้ลาดเอียงลงไปเท่ากับระดับที่ดินของฝั่งตรงข้ามก็ได้ (ตักดินหรือขุดดินออกไป) โดยค่อยๆ ตักดินออกไปแล้วคอยสังเกตว่ารั้งบ้านตั้งอยู่ในแนวระนาบแล้วหรือไม่

เรื่องของรั้วบ้านเป็นปัญหาเร่งด่วน หากว่าเจ้าของบ้านทั้งสองแห่งมีรั้วบ้านร่วมกันควรตกลงและพูดคุยกันให้ชัดเจนเรื่องค่าใช้จ่ายและการซ่อมแซมเพื่อว่าจะได้ไม่มีความขัดแย้งต่อกันในภายหลัง และ ปลอดภัยต่อทรัพย์สินและป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นตามมาในภายหลัง

รับซ่อมบ้านทรุด เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรเฉพาะทาง บริการซ่อมแซมอาคาร บ้านร้าว บ้านทรุด เสาร้าว คานร้าว รวมถึงส่วนต่อเติมของบ้าน ดาดฟ้ารั่ว ชั้นลอย รั้วเอียง รั้วทรุด ด้วยประสบการณ์มากว่า 60 ปี  จึงมั่นใจได้เลยว่าเราแก้ปัญหาได้ตรงจุด ถูกต้องตามหลักโครงสร้างของวิศวกร สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้บานปลาย อีกทั้งยังปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของลูกค้าอย่างแน่นอน

บทความที่เกี่ยวข้อง

รับซ่อมบ้านทรุด รับซ่อมอาคารทรุด ซ่อมแซมปิดโพรงใต้บ้าน รับซ่อมบ้านแตกร้าว ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพ
3 ปัญหาที่พบบ่อยเมื่อเริ่มมีการทรุดโทรมของบ้าน
ช่างซ่อมบ้านทรุด ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพ
ทำอย่างไรดี เมื่อบ้านทรุดตัว
รับซ่อมอาคารทรุด ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพ
10 ขั้นตอนรีโนเวทบ้าน ให้เป็นทรัพย์ที่มีค่า